วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ โดย วิษณุ ดาทอง + DIY ย้อมสีผ้าจากวัสดุธรรมชาติ ใช้วัสดุจากธรรมชาติซึ่งมีอยู่รอบๆ ตัว อย่างผักผลไม้ ดอกไม้ หรือเครื่องดื่มที่เรากินเราดื่มอยู่ทุกวัน

                                                           
สีธรรมชาติเป็นทีที่ได้จากพืช สัตว์และแร่ธาติต่างๆ สามารถนำมาย้อมได้ทั้งแบบย้อมร้อนและแบบร้อนเย็น สีธรรมชาติเป็นสีที่ต้องอาศัยสารช่วยในการเร่งกระตุ้นช่วยให้สีออกเร็ว และให้สีติดแนบกับเส้นไหม ทำให้สีไม่ตกเวลาซัก

                ตำบลชุมแสง เป็นตำบลที่มีฐานทรัพยากรธรรมชาติ ป่าหัวไร่ปลายนาอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย ทุน ฐานเดิม คือภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่น สู่รุ่น ที่มีอยู่ในชุมชน บวกกับชุมชนแม่บ้าน บ้านสมบูรณ์ ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาลายผ้า และการย้อมผ้าให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยทุนเดิมที่มีอยู่นำมาปรับปรุง จนสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไข นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่า

                การย้อมสีธรรมชาติ เป็นการลดการใช้สารเคมี ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง ที่เกิดจากการสะสมของสารเคมี จากการย้อมผ้าด้วยสีเคมี ที่มีกลิ่นฉุน แสบจมูก ทำให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นโรคพิษสำแดง ไม่สามารถที่จะย้อมไหมต่อไปได้ จนทำให้กลุ่มสตรี แม่บ้านหันกลับมาย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เพราะสีธรรมชาติเป็นสีที่บริสุทธิ์ ไม่มีพิษต่อร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และผ้าที่ได้มีความโดดเด่นเฉพาะ เวลาทอขึ้นเงา สีไม่ตก ใส่สบาย แต่ขั้นตอนการทำยุ่งยากและวุ่นวาย ต้องอาศัยทักษะ ความอดทน ความชำนาญ และประสบการณ์ ในการย้อมสีแต่ครั้งให้เหมือนกัน

                ปัจจุบันกลุ่มสตรีแม่บ้าน ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเด็ก กลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านที่มีความสนใจในการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ โดยการพัฒนาเป็นผ้ามัดย้อม ให้เด็กมีจินตนาการ ออกแบบลาดลาย สีสัน ตามแนวความคิดของตนเอง สร้างสรรค์ผลงานลงบนแผ่นผ้า และอนุรักษ์รักษาภูมิปัญญาของชุมชนให้คงอยู่สืบไป

การจัดกลุ่มของสีธรรมชาติชนิดต่างๆ แยกเป็นโทนสี ดังนี้


โทนสีแดง ได้จากครั่ง รากยอป่า  มะไฟ  แก่น  เมล็ดคำแสด  แก่นฝาง  เปลือกสมอ  ไม้เหมือด  เม็ดสะตีใบสัก  เปลือกสะเดา  ดอกมะลิวัลย์  แก่นกะหล่ำ  แก่นประดู่  เปลือกส้มเสี้ยว 

โทนสีเหลือง  ได้จาก  หัวขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อย  แก่นไม้พุด  ดอกกรรณิการ์  รากฝาง  ใบมะขาม  ผลดิบมะตูม  เปลือกมะขามป้อม  เปลือกผลมังคุด  ดอกผกากรอง  เปลือกประโหด  แก่นเข  ใบเสนียด  แก่นแค  แก่นฝรั่ง  หัวไพร  แก่นสุพรรณิการ์  แกนต้นปีบ  ต้นมหากาฬ  ใบขี้เหล็ก  แก่นขนุน  ลูกมะตาย  ต้นสะตือ  ใบเทียนกิ่ง

โทนสีน้ำตาล  ได้จาก  เปลือกไม้โกงกาง  เปลือกสีเสียด  เปลือกพยอม  เปลือกผลทับทิม  เปลือกคาง  เปลือกโป่งขาว  เปลือกสนทะเล  เปลือกแสมดำ  เปลือกนนทรี  เปลือกฝาดแดง  เปลือกมะหาด  เปลือกเคี่ยม  เปลือกติ้วขน  ผลอาราง  แก่นคูณ

โทนสีน้ำเงิน  ได้จาก  ใบบวบ  ใบหูกวาง  เปลือกเพกา  เปลือกต้นมะริด  เปลือกสมอ  เปลือกกระหูด  ใบเลี่ยน  เปลือกสมอภิเภก  ใบตะขบ

โทนสีดำ  ได้จาก  ผลมะเกลือ  ผลสมอภิเภก  ใบกระเม็ง  ผลมะกอกเลื่อม  เปลือกรกฟ้าผลตับเต่า  เปลือกมะเขือเทศ

สีที่ได้จากธรรมชาติ 

            สีธรรมชาติได้จากต้นไม้ ได้แก่ ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ เป็นต้น ซึ่งต้นไม้แต่ละชนิดให้โทนสีต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของต้นไม้นั้นๆ  ซึ่งจะขอยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นบางส่วน ดังนี้ 
- สีแดง    ได้จาก รากยอ แก่นฝาง  เปลือกสมอ ครั่ง
- สีคราม  ได้จาก ต้นคราม 
- สีเหลือง ได้จาก  แก่นขนุน ต้นหม่อน ขมิ้น    ดอกดาวเรือง        
- สีตองอ่อน ได้จาก เปลือกผลทับทิม ต้นคราม ใบหูกวาง เปลือกและผล
           สมอพิเภก ใบส้มป่อยและผงขมิ้น ใบแค ใบสับปะรดอ่อน 
- สีดำ    ได้จาก ผลมะเกลือ ผลกระจาก ผลและเปลือกสมอ
- สีส้ม   ได้จาก เปลือกและรากยอ ดอกกรรณิการ์ (ส่วนที่เป็นหลอดสีส้ม) 
- สีเหลืองอมส้ม    ได้จาก ดอกคำฝอย
- สีม่วงอ่อน     ได้จาก ลูกหว้า
- สีชมพู    ได้จาก ต้นฝาง
- สีน้ำตาล   ได้จาก เปลือกไม้โกงกาง เปลือกผลมังคุด
- สีเขียว    ได้จาก เปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ

 ....................................................................

ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ 

        เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ดังนี้ 

            1.  เตรียมวัตถุดิบให้สี   เช่น   ใบไม้   ดอกไม้   เปลือกไม้   กิ่ง  ก้านใบ  แก่นใบ ผลไม้  รากไม้  ที่ให้สีในโทนที่ต้องการมาจำนวนพอประมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำ หม้อที่ใช้ต้ม และจำนวนผ้าที่ต้องการย้อมด้วย นำวัตถุดิบดังกล่าวมาหั่นเล็กๆ ขนาดพอเหมาะกับภาชนะต้ม 

2.  เตาขนาดใหญ่ หรือก้อนเส้าที่สูงเล็กน้อยเพื่อตั้งหม้อต้มน้ำ พร้อมกับถ่านหรือฝืนที่จะก่อไฟ 

3.  ผ้าฝ้าย ขนาดตามต้องการ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ 

 4. หนังยาง   เชือก ฟาง  หรือ เข็มกับด้วย เพื่อเอาไว้มัดลวดลาย 

5.  ปีบ  กะละมังหรือหม้อขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้ต้มสีย้อมผ้าจาก ธรรมชาติ 

6.  ถุงผ้า หรือ ตาข่าย สำหรับใส่หรือห่อวัตถุดิบที่ให้สี เพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้ กระจายไปติดกับผ้าที่เราจะย้อม 

            7.  ไม้ไผ่ผ่าซีกแบนเรียบ ไม้ไอศกรีม  ก้อนหิน หรือวัตถุขนาดต่างๆ เพื่อ เอาไว้ทำเป็นแม่แบบกดทับผ้าเพื่อให้เกิดลายตามจินตนาการ 

            8.  เกลือ เอาใส่ในหม้อต้มน้ำเพื่อให้สีติดทนนานขึ้น 

 .........................................................................

   เตรียมตัวทำปฏิกิริยา 

            ตวทำปฏิกิริยาคือวัตถุดิบที่จะมาช่วยเพิ่มและเปลี่ยนสีสันให้ได้สีที่หลากหลายขึ้นจากเดิม ซึ่งแต่ละตัวจะทำให้ผ้าที่ย้อมเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ เช่น เข้มขึ้น จางลง หรือเปลี่ยนเป็นสีอื่นๆ แต่ก็อยู่ในโทนสีเดิม ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารดังกล่าว ดังนี้ 

1. น้ำด่าง   ได้จากการนำขี้เถ้าจากเตาไฟที่เผาไหม้แล้วประมาณ 1 -2  กิโลกรัม มาผสมให้ละลายกับน้ำประมาณ 10 - 15  ลิตร ในภาชนะ เช่น ถังน้ำ หรือ แกลลอน แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน ประมาณ 1 - 2 วัน หลังจากนั้นค่อยๆ เทกรองเอาน้ำที่ใสๆ ที่ได้จากการหมักขี้เถ้า มาเป็นน้ำหัวเชื้อ  ซึ่งสามารถใส่ขวดแล้วเก็บไว้ได้นานเท่าไหร่ก็ได้  น้ำด่างขี้เถ้าที่ดีจะต้องใสและไม่มีกลิ่นเหม็น ปริมาณที่ใช้ในแต่ละครั้ง น้ำ 1 ถัง ใช้น้ำด่างประมาณ ครึ่งขวดลิตร เป็นต้น 

            2. น้ำปูนใส  ได้จากการนำปูนขาวเคี้ยวหมากขนาดเท่าหัวแม่มือ  มา ละลายกับน้ำ 1 ถัง (ประมาณ  15 - 20 ลิตร) ทิ้งไว้ให้ตกตะกอนรินเอาเฉพาะน้ำที่ใสๆ เท่านั้น น้ำปูนใสที่ดีจะใส และไม่มีกลิ่น 

3. น้ำสารส้ม ได้จากการนำสารส้มที่เป็นก้อนมาแกว่งให้ละลายกับน้ำ  แล้วกรอง หรือตักเอาน้ำใช้เลยก็ได้   น้ำสารส้มจะใสและไม่มีกลิ่น 

4. น้ำสนิม  ได้จากการนำเศษเหล็ก ตะปู หรือ สังกะสีที่เป็นสนิม  นำลงไปแช่น้ำ ทิ้งไว้กลางแดดเป็นเวลาอย่างน้อย 1  เดือนหมั่นตรวจดูและเติมน้ำให้เต็มเสมอ  เพราะเมื่อเรานำน้ำไปตั้งกลางแดดน้ำจะระเหยกลายเป็นไอ  เราจึงต้องเติมน้ำอยู่เสมอ เมื่อจะใช้ให้กรองเอาเฉพาะน้ำที่แช่เหล็กระวังเศษเหล็กจะผสมมากับน้ำ เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้   น้ำสนิมมีสีขุ่นดำ มีกลิ่นค่อนข้าง เหม็น ปริมาณใช้น้ำสนิมครึ่งขวดลิตร ต่อน้ำ 1 ถัง (ประมาณ 15 -  20 ลิตร) 


.........................................................

       ขั้นตอนการเตรียมผ้าฝ้าย  มีดังนี้

            1.  นำผ้าฝ้ายสีขาวมาตัดตามขนาดที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ว่าจะทำอะไร เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูโต๊ะ ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน เป็นต้น 

2.  นำไปเย็บริมให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการหลุดลุ่ยของชายผ้า หรือนำมาตัดชายผ้าแล้วดึงปมออกให้เป็นชายเพื่อพันให้เป็นเกลียวก็ได้ 

4.  นำผ้าฝ้ายไปซักในน้ำสะอาด เพื่อให้แป้งที่ติดมากับผ้าหลุดออกและเพื่อให้ผ้านุ่มและดูดสีมากขึ้น 

5.  มัดลวดลายตามจินตนาการ 

 ..........................................................

การทำลวดลายผ้า (แบบง่าย) 

             การคิด ประดิษฐ์ลายผ้า ขึ้นอยู่กับจินตนาการและการสังเกตของแต่ละคน ซึ่งการมัดแต่ละครั้งหรือแต่ละคน  ลายผ้าที่ได้จะไม่เหมือนกัน แต่ก็สามารถปรับปรุง หรือออกแบบให้ใกล้เคียง หรือ คล้ายกันได้  ขึ้นอยู่กับการสังเกตและพัฒนาการของแต่ละคนด้วย ซึ่งการมัดลายแบบพื้นฐานอย่างง่ายมี 4 แบบ ดังนี้ 

            1. การพับแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการพับผ้าเป็นรูปต่างๆ แล้วมัดด้วยยางหรือ เชือก ผลที่ได้จะได้ลวดลายที่มีลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวาจะมีความใกล้เคียงกัน แต่จะมีสีอ่อนด้านหนึ่งและสีเข้มด้านหนึ่ง เนื่องจากว่าหากด้านใดโดนพับไว้ด้านในสีก็จะซึมเข้าไปน้อย ผลที่ได้ก็คือจะมีสีจางกว่านั่นเอง    
            2. การห่อแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการใช้ผ้าห่อวัตถุต่างๆ ไว้แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ลายที่เกิดขึ้นจะเป็นลายใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้ และลักษณะของการมัด เช่น การนำผ้ามาห่อก้อนหินรูปทรงแปลกๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แล้วมัดไขว้ไปมา โดยเว้นจังหวะของการมัดให้มีพื้นที่ว่างให้สีซึมเข้าไปได้ อย่างนี้ก็จะมีลายเกิดขึ้นสวยงามแตกต่างจากการมัดลักษณะวัตถุอื่นๆ ด้วย 

            3. การขยำแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการขยำผ้าอย่างไม่ตั้งใจแล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ผลมี่ได้จะได้ลวดลายแบบอิสระ เรียกว่าลายสวยแบบบังเอิญ ทำแบบนี้อีกก็ไม่ได้ลายนี้อีกแล้ว เนื่องจากการขยำแต่ละครั้งเราไม่สามารถควบคุมการทับซ้อนของผ้าได้ ฉะนั้นลายที่ได้เป็นลายที่เกิดจากความบังเอิญ          จริงๆ เปรียบเทียบเหมือนกับการที่เราเห็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆแต่ละก้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และเมื่อผ่านสักครู่ลายหรือลักษณะของก้อนเมฆก็จะเปลี่ยนไป เราเรียกว่าลายอิสระ หรือรูปร่างรูปทรงอิสระนั่นเอง 

            4 พับแล้วหนีบ  กล่าวคือ เป็นการพับผ้าเป็นรูปแบบต่างๆ แล้วเอาไม้ไอศกรีม หรือไม้ไผ่ผ่าบางๆ หนีบไว้ทั้งสองข้างเหมือนปิ้งปลา ต้องมัดไม้ให้แน่น ภาพที่ออกมาก็จะเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปดอกไม้ รูปสี่เหลี่ยม เป็นต้น 

       ข้อสังเกต และ ข้อควรระวัง
            หลักการสำคัญในการทำมัดย้อมคือ ส่วนที่ถูกมัดคือส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด ส่วนที่เหลือหรือส่วนที่ไม่ได้มัดคือส่วนที่ต้องการให้สีติด การมัดเป็นการกันสีไม่ให้สีติดนั่นเอง ลักษณะที่สำคัญของการมัดมีดังนี้
             1. ความแน่นของการมัด
                        - กรณีแรกมัดมากเกินไปจนไม่เหลือพื้นที่ให้สีแทรกซึม

            เข้าไปได้  เลย ผลที่ได้ก็คือ ได้สีขาวของเนื้อผ้าเดิม อาจมีสีย้อม 

            แทรกซึมเข้ามาได้เล็กน้อย อย่างนี้เกิดลายน้อย 

-  กรณีที่สองมัดน้อยเกินไป เหลือพื้นที่ให้สีย้อมติดเกือบเต็มผืน อย่างนี้เกิดลายน้อยเช่นกัน ทั้งผืนมีสีย้อมแต่แทบไม่มีลายเลย 

-  กรณีที่สาม มัดเหมือนกันแต่มัดไม่แน่น อย่างนี้เท่ากับ ไม่ได้มัดเพราะหากมัดไม่แน่นสีก็จะแทรกซึมผ่านเข้าไปได้ทั่วทั้งผืน 

            2. การใช้อุปกรณ์ช่วยในการหนีบผ้าแล้วมัด เพื่อให้เกิด ความ แน่นและเกิดลวดลายตามแม่แบบที่ใช้หนีบ ดังนั้นลายสวยเพียงใดขึ้นอยู่กับการออกแบบแม่แบบที่จะใช้หนีบด้วย
            3. ความสม่ำเสมอของสีย้อม สีย้อมที่ติดผ้าจะสม่ำเสมอได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความร้อนขณะนำผ้าลงย้อม และการกลับผ้าไปมาการขยำผ้าเกือบตลอดเวลาของการย้อมหนึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่งก่อนที่จะแช่ผ้าไว้ 

..............................................................................

ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ  มีดังนี้ 

1. ต้มน้ำให้เดือด  ในภาชนะที่ใหญ่พอประมาณ (ขึ้นอยู่กับจำนวนผ้า ที่จะย้อมด้วย) ใส่เกลือลงไปพร้อมกับน้ำเพื่อให้สีติดทนนานและสีสดขึ้น 

                        2. นำวัตถุดิบให้สีที่เตรียมไว้มาสับๆ ให้เล็กพอประมาณ แล้วใส่ ใน ถุงผ้าหรือ 

            ตาข่ายที่เตรียมไว้ แล้วนำเอาไปต้มกับน้ำที่เดือด  เพื่อสกัดเอาสารที่มี อยู่ในนั้นออกมา ให้

            สังเกตสีที่ออกมาจากถ้าสีเข้มแล้วจึง 

                         3. นำผ้าที่ผูกลายเสร็จลงไปในหม้อต้มสี ให้กลับด้านผ้าหรือกวน ให้ตลอด

             เพื่อให้สีผ้าดูดสีสม่ำเสมอกันทั้งผืน  ให้สังเกตสีที่ซึมเข้าไปในเนื้อผ้า ถ้าพอใจหรือเหมาะ

             สมแล้วจึงนำออกมา วางให้เย็นก่อน (ประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหถูมิของน้ำ) 

4.  แล้วค่อยเอาลงล้างขยี้เบาๆ ในน้ำตัวทำปฏิกิริยาเพื่อทำให้เกิดสีใหม่   เช่น   น้ำสนิม  น้ำสารส้ม   น้ำปูนใส   น้ำด่างขี้เถ้า  (ในขณะที่แช่ผ้าในตัวทำปฏิกิริยาแต่ละชนิดให้สังเกตถึงความต่างและการเปลี่ยนแปลงสีของแต่ละชนิดไว้ด้วยเพราะแต่ละตัวจะให้สีแตกต่างกัน) ถ้าพอใจแล้วให้แกะลายออกแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หรือถ้ายังไม่พอใจในสีที่ปรากฏให้นำไปล้างน้ำ สะอาดแล้วนำกลับไปย้อมกับตัวทำปฏิกิริยาชนิดอื่นๆ อีก   แต่ข้อควรระวัง คือในระหว่างที่นำผ้าเปลี่ยนตัวทำปฏิกิริยาให้ล้างน้ำเปล่าก่อน เพื่อไม่ให้ผสมกัน หรือถ้าไม่พอใจอีกอาจนำไปต้มกับน้ำเปลือกไม้อีกครั้ง  เพื่อย้อมใหม่ จนเป็นที่พอใจแล้วแก้ผ้าที่มัดไว้นำไปตากแดดให้แห้ง 

สีธรรมชาติ

สีที่ได้จากธรรมชาติ เป็นความรู้ดั่งเดิมที่สืบทอดกันมาจากปู่ย่าตายาย แหล่งวัตถุดิบสีธรรมชาติยังสามารถหาได้จากต้นไม้ ใบไม้ ที่ให้สีสันสวยงามตามที่เราต้องการและหาได้ไม่ยาก ซึ่งปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติกันมากขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก และกรรมวิธีผลิตที่แตกต่างกัน ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสวยงามและหลากหลาย

สีย้อมธรรมชาติ

               การย้อมสีเขียวจากเปลือกต้นเพกา  เอาเปลือกเพกามาหั่น  หรือสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้ม 20 นาที  ช้อนเอาเปลือกออก  ต้มเถาถั่วแปบเอาแต่น้ำใสเติมลงไปใส่น้ำมะเกลือกเล็กน้อย  ใส่ปูนขาวและใบส้มป่อยผสมลงไป  ทิ้งไว้สักพัก  แล้วกรองให้เหลือแต่น้ำสีพร้อมที่จะย้อม  นำเอาน้ำย้อมตั้งไฟพออุ่น นำด้ายฝ้ายซึ่งซุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ต้มต่อไปนาน  20  นาที จนได้สีที่ต้องการ  ยกด้ายฝ้ายออก  ซักน้ำสะอาดใส่ราวกระตุกตากจนแห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีดำจากเปลือกสมอ  ให้เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งจนงวดพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมขณะที่น้ำสียังร้อนอยู่  จะได้สีดำแกมเขียวเข้ม  ถ้าต้องการได้สีเขียว  ใช้ด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมสีครามมาย้อมจะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีเขียวจากเปลือกสมอ  เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมครามมาครั้งหนึ่งแล้ว  ลงไปย้อมในน้ำสีที่ยังร้อนอยู่  ต้มต่อไปประมาณ  1  ชั่วโมง  หมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา  เพื่อให้สีดูดซึมอย่างสม่ำเสมอ  พอได้สีตามต้องการยกด้ายฝ้ายขึ้นกระตุก ตากให้แห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีจากเปลือกรกฟ้า  โดยการแช่เปลือกต้นรกฟ้าในปริมาณพอสมควรไว้นาน  3  วันแล้วตั้งไฟต้ม ให้เดือด  จนเห็นว่าสีออกหมดดีแล้ว  จึงเทน้ำย้อมใส่ลงในอ่างย้อมหมักแช่ไว้  1  คืน  นำเอาเปลือกไม้ผึ่งแดด  จนแห้ง  เก็บไว้ใช้ต่อไป  สีเปลือกไม้นี้ถ้าถูกต้มจะกลายเป็นสีดำได้

               การย้อมสีกากีแกมเขียวจากเปลือกเพกากับแก่นขนุน  เอาเปลือกเพกาสด ๆ มาล้างน้ำ  ผึ่งแดดสัก  2-3 แดด  พักทิ้งไว้  เอาแก่นขนุนหั่นหรือไสให้เป็นชิ้นบาง ๆ แบ่งเอามา  1  ส่วน ผสมกับเปลือกเพกา  3  ส่วน  ต้มเคี่ยวให้น้ำเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำ  เวลาย้อมเติมน้ำสารส้มเล็กน้อยเพื่อให้สีติดดีและทนทาน  การย้อมเอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดลงในอ่างย้อมหมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา เพื่อให้สีติดสม่ำเสมอ ไม่ด่าง  จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำให้สะอาดบิดกระตุก ตาก

               การย้อมสีน้ำตาลแก่จากเปลือกไม้โกงกาง  นำเอาเปลือกไม้โกงกางที่แห้งพอหมาด  มาล้างน้ำให้สะอาด  แช่น้ำไว้  1  คืน  แล้วต้มเคี่ยวไว้  2  วัน  กรองเอาแต่น้ำย้อมใส่สารเคมีไฮโดรเจนซัลไฟต์ ผสมลงในน้ำย้อมเล็กน้อย  เพื่อให้สีติดดีขึ้น  เอาด้ายฝ้ายที่ชุบน้ำพอหมาดจุ่มลงในน้ำย้อม ตั้งไฟต้มนาน 30  นาที  ยกด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำ  บิดให้แห้ง กระตุกด้ายฝ้ายให้กระจาย  ตากแดด

            การย้อมสีเปลือกไม้โกงกาง  แช่เปลือกไม้โกงกางในปริมาณพอสมควรไว้นาน  3  วัน แล้วตั้งไฟต้มให้เดือด  จนเห็นว่าสีออกหมดดีแล้ว  จึงเทน้ำย้อมใส่ลงใสอ่างย้อม  หมักแช่ไว้  1  คืน  นำเอาเปลือกไม้ผึ่งแดดจนแห้งเก็บไว้ใช้ต่อไป  สีเปลือกไม้นี้ถ้าถูกต้มจะกลายเป็นสีดำได้  แต่ทนน้ำเค็ม

               การย้อมสีด้วยรากยอ  เอารากยอแห้งที่มีอายุสักหน่อย  เพื่อจะให้ได้สีเข้มมาสับหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มน้ำเดือด น้ำสีจะเป็นสีแดงจึงยกลง  กรองเอาแต่น้ำสี  นำเอาด้ายฝ้ายซึ่งเตรียมจะย้อมชุบน้ำให้เปลือกพอหมาดลงแช่ในน้ำสีประมาณ  30  นาที  หรือกว่านั้น  หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อให้สีติดด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง  แล้วนำด้ายฝ้ายที่ย้อมขึ้นจากหม้อบิดพอหมาด  นำไปล้างน้ำสะอาด  แล้วผึ่งให้แห้ง  จะได้ด้ายฝ้ายที่ย้อมเป็นสีแดงตามต้องการ

               การย้อมสีด้วยเมล็ดคำแสด  วิธีเตรียมสีจากเมล็ดคำแสด  แกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลาย ๆ วัน จนสารสีตกตะกอน  แยกเมล็ดออก  นำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดเกือบแห้งแล้วนำไปตากแดด  จนแห้งเป็นผงเก็บไว้ใช้ 

               วิธีย้อมสีผ้าฝ้าย  ละลายสีเช่นเดียวกับการย้อมผ้าฝ้าย  แต่นำผ้าไหมที่ต้องการย้อมแช่ไว้ประมาณ  1  ชั่วโมง  และเติมสบู่ลงเล็กน้อยลงไปในสีที่ใช้ย้อม  ถ้าต้องการให้ผ้ามีสีเหลืองเพิ่มขึ้นให้เติมกรด  tataric  ลงไปเล็กน้อย  ผ้าที่ย้อมด้วยสีจากเมล็ดคำแสดที่จะไม่ตกง่ายเมื่อถูกับสบู่  หรือกรดอ่อน ๆ

               การย้อมสีดำจากลูกมะเกลือ  นำเอาลูกมะเกลือมาตำละเอียด  แล้วแช่ในน้ำ ในน้ำที่แช่นี้เอารากลำเจียก  หรือต้นเบงตำปนกับลูกมะเกลือ  แล้วเอาด้ายฝ้ายที่ลงน้ำแล้วบิดพอหมาดลงย้อมในน้ำย้อม สัก 3-4 ครั้ง  การย้อมทุกครั้งต้องตากแดดให้แห้งจนเห็นว่าดำสนิทดี  ถ้าต้องการให้ผ้าเป็นเงาใช้งาดำตำละเอียด  นำด้ายฝ้ายมาคลุกเคล้าให้ทั่ว  ผึ่งไว้สักพัก  กระตุกตาก

               การย้อมอีกวิธีหนึ่งคือ เอาลูกมะเกลือที่แช่น้ำทิ้งไว้นั้นในปริมาณที่ต้องการมาตำให้ละเอียดพร้อมกับใบหญ้าฮ่อมเกี่ยวแล้วเอาไปแช่ในน้ำด่าง (ได้จากต้นมะขามเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า  แล้วละลายน้ำกรองเอาน้ำใส ๆ จะได้น้ำย้อมที่ต้องการ)  นำเอาด้ายฝ้ายที่ลงน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ใช้มือช่วยบีบด้วยฝ้ายเพื่อให้สีดูดซึมอย่างทั่วถึง ปล่อยทิ้งสักพักแล้วยกขึ้นจากอ่างน้ำย้อม  ซักให้สะอาดกระตุกตากให้แห้ง

               การย้อมสีแดงจากดอกคำฝอย  นำดอกคำฝอยมาตำให้ละเอียด  ห่อด้วยผ้าขาวบางผสมน้ำด่างเพื่อให้เกิดสี  (น้ำด่างได้จากการนำต้นผักขมหนามที่แก่จนเป็นสีแดงหรือน้ำตาลมาตากให้แห้งสนิทแล้วนำไปเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า  ผสมกับน้ำทิ้งให้ตกตะกอน  รินเอาแต่น้ำใส ๆ มาผสมกับสี) ส่วนวิธีย้อมทำโดยนำดอกคำฝอยมาต้มให้น้ำออกมาก ๆ จนเหนียว  เก็บน้ำสีไว้      จากนั้นเอาแก่นไม้ฝางมาไสด้วยกบบาง ๆ แล้วต้มให้เดือดนานประมาณ  6  ชั่วโมง ช้อนกากทิ้ง เวลาจะย้อมฝ้าย  นำเอาน้ำย้อมที่ต้มแล้วทั้งสองอย่างมาเทรวมเข้าด้วยกัน  แล้วเติมสารส้มลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากันดีนำฝ้ายที่ชุบน้ำและตีเส้นให้กระจายลงย้อมในอ่างย้อม

               การย้อมสีเขียวจากใบหูกวาง  เอาใบหูกวางมาตำคั้นเอาแต่น้ำสีกรองให้สะอาดต้มให้เดือดเอาฝ้ายที่เตรียมไว้  ลงย้อมจะได้เป็นสีเขียวอ่อน  หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมา  เพื่อไม่ให้ด้ายฝ้ายด่าง และสีย้อมจะได้ติดทั่วถึง  พอได้ความเข้มของสีติดด้ายฝ้ายตามต้องการจึงยกขึ้นบิดพอหมาด  ซักน้ำสะอาดผึ่งให้แห้ง

            การย้อมสีจากคราม  ตัดต้นครามมาม้วนและมัดเป็นฟ่อน ๆ นำไปแช่น้ำไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ  2-3 วัน จนใบครามเปื่อย  จึงแก้มัดครามออกเพื่อให้ใบครามหลุดออกจากลำต้น  นำลำต้นทิ้งไป เอาปูนขาวในอัตราส่วนที่เหมาะสมกันกับน้ำที่แช่ครามผสมลงไปแทนต้นคราม  จากนั้นนำเอาขี้เถ้าซึ่งได้จากเหง้ากล้วยเผาจนดำ  ผสมลงไป ทิ้งไว้ประมาณ  2-3 คืน  จนกว่าน้ำที่กวนใส รินน้ำที่ใสออกทิ้ง จะได้น้ำสีครามตามต้องการ  อาจใช้ผ้าขาวบางกรองเพื่อจะได้น้ำสีครามที่ละเอียด  นำด้ายไปขยำในหม้อคราม พยายามอย่าให้ด้ายฝ้ายพันกัน  ให้น้ำสีกินเข้าไปในเนื้อด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง  จนกระทั่งได้สีเข้มตามต้องการ จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นจากหม้อ  บิดให้

หมาดล้างน้ำสะอาด  นำไปขึ้นราวตากให้แห้ง

               การย้อมสีชมพูจากต้นมหากาฬและต้นฝาง  เอาเปลือกของต้นมหากาฬมาสับให้ละเอียดต้มในน้ำเดือดประมาณ 1  ชั่วโมง  แล้วช้อนเอาเปลือกออก เติมไม้ฝางซึ่งผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไปต้มในน้ำเดือดนาน 1 ชั่วโมง เติมใบส้มป่อยลงไปอีก 1 กำ  ต้มต่อไปอีกเล็กน้อย  ช้อนเอากากออกแล้วเติมน้ำด่างลงไป จะได้น้ำย้อมสีชมพูจึงเอาด้ายฝ้ายที่ชุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงไปในอ่างย้อม ตั้งไฟต้มนาน   30  นาที ยกขึ้นจากอ่างย้อมนำไปซักน้ำบิดให้แห้งกระตุกให้เส้นด้ายกระจายตากแดด

               การย้อมสีเหลืองจากแก่นขนุน  นำแก่นขนุนที่แห้งแล้วมาหั่นหรือไสด้วยกบเบา ๆ ใช้มือขยำให้ป่นละเอียด  ห่อด้วยผ้าขาวบาง แล้วต้มประมาณ  4  ชั่วโมง ดูว่าสีนั้นออกตามความต้องการหรือยังเมื่อใช้ได้ช้อนเอากากทิ้งกรองเอาน้ำใสเติมน้ำสารส้มเล็กน้อย  เพื่อให้สีติดดี  เอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำพอหมาด จุ่มลงในอ่างย้อม  กลับด้ายฝ้ายไปมานาน 1 ชั่วโมง เอาขึ้นจากอ่างย้อม ซักน้ำสะอาดกระตุกตาก

               การย้อมสีเหลืองจากแก่นแกแล  ใช้ส่วนของแก่นแกเลย้อมผ้าจะได้สีเหลือง  ซึ่งจะมีสารสีเหลืองชื่อ Morin  อยู่ประมาณ  1% ให้นำเอาแก่นแกแลมาตากให้แห้งแล้วผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่หม้อต้มเดือด จนน้ำต้มสีเป็นสีเหลืองจึงยกลง  และนำเอาไปกรองเก็บน้ำสีไว้  เอาแกแลที่กรองไว้ไปต้มน้ำให้เดือดต่อไปจนได้น้ำสีจากแกแล  ซึ่งสีอ่อนกว่าหม้อแรก  เก็บน้ำสีไว้ทำแบบเดียวกัน  จนได้น้ำสีครบ 3 หม้อ จะได้น้ำสีอ่อนสุดถึงแก่สุด นำเอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมในน้ำสีหม้อที่  3  ซึ่งเป็นสีอ่อนสุดยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อให้น้ำสีเข้าไปในเนื้อฝ้ายได้ทั่วถึงไม่ด่าง  ทิ้งไว้สักพักจึงยกด้ายฝ้ายขึ้นบิดพอหมาด นำไปย้อมในหม้อที่ 2 และหม้อที่ 1 ทำแบบเดียวกัน จนย้อมได้ครบ  3  หม้อ นำด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำสะอาดจนสีไม่ตก เอาเข้ารางผึ่งให้แห้ง



จากประสบการณ์ในการย้อมจีวร ใช้วัสดุคือ แก่นขนุน สีที่ได้คือสีกรัก สีที่พระป่าชอบใส่ครับ อีกสีคือ ใช้แก่นฝาง เลือกกิ่งฝางที่แก่ๆ ผ่าตากแดด ให้แห้ง สีที่ได้ ออกแดงๆแต่ไม่จัดมาก แดงน้ำหมาก
แก่นขนุน ผ่าตากแดดให้แห้ง  ใช้กะละมังสแตนเลสขนาดใหญ่ ต้มน้ำให้เดือด นำแก่นขนุนหรือฝาง ลงไป ย้อมนานประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป เคล็ดลับคือ ใส่ผงซักผ้าไปด้วยนิดนึง แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าใส่ผงซักผ้าลงไปทำไม แต่ที่บ้าน  ชาวบ้านทำผ้าไหมมัดหมี่ ที่มีชื่อเสียงที่สุดของขอนแก่น เวลาย้อมผ้าก็ใส่ผงซักผ้าลงไปด้วย แต่ไม่เยอะนะครับ
ย้อมประมาณ 2-3 เที่ยว จนได้สีที่เราต้องการ ถึงหยุดย้อมครับ 
เคล็ดลับนิดหนึ่งนะครับ หากใช้กิ่งไม้ ให้เลือกเอากิ่งที่อยู่ทางตะวันออกครับ เพราะจะทำให้ได้สีที่เข้มกว่าทางตะวันตก สาเหตุคือ กิ่งทางตะวันออก จะได้แดดที่แรงกว่าทางตะวันตกครับมหาบ้านนอก

******************************************************************
DIY fabric dye with Turmeric / ย้อมสีผ้าด้วยขมิ้น

ขมิ้น

แนะนำให้ใช้ขมิ้นผงเพื่อความสะดวกค่ะ และเป็นขมิ้นประเภทเดียวกับที่เราทำอาหารและขัดตัวด้วยนะคะ หาซื้อได้ง่ายๆ เลยค่ะ จากตลาด ซูเปอร์มาร์เกต หรือร้านออนไลน์ต่างๆ แถมยังราคาไม่แพงอีกด้วย วิธีทำก็เพียงแค่ต้มน้ำในหม้อใหญ่ๆ ด้วยไฟกลาง ใส่ขมิ้นผงลงไป 5 ช้อนโต๊ะค่ะ หากจะทำผ้ามัดย้อม ก็ใช้หนังยางมัดผ้าให้แน่นค่ะ ส่วนผ้าที่ให้สำหรับการย้อมควรเป็นผ้าสีอ่อนอย่างขาวหรือครีมค่ะ ก่อนใส่ผ้าสำหรับย้อมลงไปในหม้อผสมขมิ้นเดือดๆ ให้นำผ้าไปแช่น้ำเย็นหรือน้ำธรรมดาก่อนนะคะ จะช่วยให้ผ้าดูดสีน้ำขมิ้นได้ดีขึ้นค่ะ บิดผ้าให้หมาด เมื่อน้ำขมิ้นเดือดให้ลดไฟต่ำลงแล้วจึงใส่ผ้าลงไปค่ะ ต้มต่อไปอีก 1 ชั่วโมง หมั่นค้นเพื่อให้สีติดทั่วถึงนะคะ เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วก็ยกหม้อลงค่ะ ปล่อยให้เย็น 15 นาที จากนั้นจึงนำผ้ามาล้างน้ำธรรมดาเพื่อล้างสีส่วนเกินออก ให้เหลือแต่สีที่ติดในเนื้อผ้าแล้วค่ะ ถ้าทำผ้ามัดย้อมก็ให้แกะหนังยางออกค่ะ ตากให้แห้ง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
ที่มา : www.highondiy.com
dyeing fabric with coffee / ย้อมผ้าด้วยกาแฟDIY fabric dye with coffee / ย้อมผ้าด้วยกาแฟ

กาแฟ

ใช่แล้วค่ะ กาแฟที่เราดื่มกันยามเช้านี่แหละค่ะ ใช้ผงกาแฟสำเร็จรูป 1 ถ้วย ผสมน้ำ 4 ถ้วย นำไปต้มให้เดือด พอเดือดแล้วให้ปิดไฟ รอจนกว่าน้ำจะเย็นแล้วจุ่มผ้าลงในน้ำกาแฟให้ชุ่มเลยค่ะ จากนั้นนำผ้าขึ้นมาบิดให้หมาด ตากให้แห้งค่ะ หรือจะเอาเข้าเตาอบก็ได้ค่ะ แผ่ผ้าบนถาดอบ นำเข้าเตาอบอุณหภูมิ 250 องศา ประมาณ 5 นาทีหรือน้อยกว่านั้น สีของผ้าด้านบนจะซีดลงเล็กน้อย ส่วนด้านหลังจะปรากฏสีน้ำตาลของกาแฟเข้มมากขึ้นตามรอยยับค่ะ แต่ถ้าไม่อยากให้เห็นรอยยับชัดเจน และไม่อยากเอาไปอบ ก็สามารถตากแดดได้ตามปกติเลยค่ะ
ที่มา : www.polishthestars.com
dyeing fabric with blackberry / ย้อมผ้าด้วยแบล็กเบอร์รีblackberry boiling / ต้มแบล็กเบอร์รีเพื่อย้อมผ้า

แบล็กเบอร์รี

นำผ้าที่จะย้อมต้มในน้ำเปล่าผสมเกลือประมาณ 1 ชั่วโมง แนะนำให้ใช้ผ้าคอตตอนหรือผ้าเส้นใยธรรมชาติ เพราะสีจะติดง่ายและติดทนกว่าค่ะ จากนั้นล้างด้วยน้ำเย็น บิดให้หมาดแล้วพักไว้ มาเตรียมส่วนผสมสีจากผลแบล็กเบอร์รีกันดีกว่าค่ะ ใช้แบล็กเบอร์รี 1 ส่วนต่อน้ำ 4 ส่วน ต้มให้เดือดปุดๆ สัก 15 นาที แล้วกรอกเอาแต่น้ำ ทิ้งไว้ให้เย็นลง จากนั้นนำผ้ามาจุ่มลงไปค่ะ ทิ้งไว้ 10 นาที นำผ้าขึ้นแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด นำผ้าไปตากให้แห้ง เป็นอันเสร็จ สีอาจจะซีดลงเล็กน้อยนะคะ
ที่มา : www.scoutiegirl.com
dyeing fabric with Yellow Onion Skins / ย้อมผ้าด้วยเปลือกหอมใหญ่Yellow Onion Skins / เตรียมเปลือกหอมใหญ่DIY Yellow Onion Skins  dye / ย้อมผ้าด้วยเปลือกหอมใหญ่

เปลือกหอมใหญ่

อาจจะฟังดูแปลกๆ ก็ใครจะเชื่อละว่าเราจะย้อมสีด้วยเปลือกหอมใหญ่ได้ แล้วสีจะออกมาเป็นยังไงนะ เปลือกหอมใหญ่จะให้สีน้ำตาลอมส้มคะ เริ่มจากเตรียมผ้าที่จะย้อมโดยนำไปต้มหรือแช่ในน้ำร้อนสัก 1 ชั่วโมง บิดให้หมาดๆ และพักไว้ ส่วนเปลือกหอมใหญ่ควรจะมีเยอะพอสมควรนะคะ ยิ่งเยอะยิ่งดี เพื่อจะได้เม็ดสีเยอะๆ ค่ะ นำเปลือกหอมใหญ่ไปต้มในน้ำเดือดๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง ตักเอาเปลือกออกให้หมด แล้วจึงใส่ผ้าส่งไป กดให้ผ้าจมน้ำเพื่อให้สีติดทั่วและไล่อากาศออกจากผ้าค่ะ ต้มไปอีกสัก 1 ชั่วโมง จากนั้นปิดไฟ ทิ้งผ้าไว้ในนั้นจนน้ำหายร้อนหรือทั้งไว้ข้ามคืนก็ได้ค่ะ ยิ่งแช่ไว้นานยิ่งทำให้สีสวยสดใส แล้วค่อยน้ำผ้ามาล้างน้ำเย็น ผึ่งให้แห้งก็เป็นอันเสร็จแล้วค่ะ
ที่มา : www.folkfibers.com
dyeing fabric with black bean / ย้อมผ้าด้วยถั่วดำblack bean in the pot / ย้อมผ้าด้วยถั่วดำleave the fabric in the black bean water / ย้อมผ้าด้วยถั่วดำ

ถั่วดำ

ย้อมผ้าด้วยถั่วดำเป็นอะไรไที่ง่ายมากเลย เพราะไม่ต้องต้มถั่วดำค่ะ เพียงแค่แช่ถั่วดำในน้ำ 24 ชั่วโมงเพื่อให้สีจากถั่วดำออกมา จะได้น้ำสีม่วงๆ ค่ะ จากนั้นก็ตักเอาเฉพาะน้ำถั่วดำใส่ไว้ในขวดโหลที่เตรียมไว้ ใส่โซเดียมคาร์บอเนตหรือโซดาแอสเพิ่มเข้าไปเล็กน้อย เพื่อปรับค่าความเป็นกรดด่างค่ะ แล้วเราจะได้น้ำอีกสีเลยค่ะ ออกเป็นสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นนำผ้ามาแช่ในน้ำถั่วดำ ปิดผ้าหรือแรปพลาสติก ทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง หรือหากมีเวลาก็ทิ้งไว้สัก 48 ชั่วโมงเพื่อให้สีติดยิ่งขึ้น เมื่อครบกำหนดแล้วให้นำผ้ามาล้างน้ำสะอาด พึ่งให้แห้ง ผ้าสีม่วงฟ้าคือผ้าที่แช่ในน้ำถั่วดำ ส่วนผ้าสีครีมหม่นคือผ้าที่แช่ในน้ำถั่วดำผสมโซเดียมคาร์บอเนตหรือโซดาแอส ให้อารมณ์วินเทจมากเลยค่ะ
ที่มา : blog.freepeople.com
dyeing fabric with  tea / ย้อมผ้าด้วยชาtea and fabric / ย้อมผ้าด้วยชาput tea bag in the hot water / ใส่ถุงชาในน้ำร้อน

ชาถุง

ย้อมผ้าด้วยชา ชาถุงที่ขายตามซูเปอร์มาเกตทั่วไปก็สามารถนำมาย้อมผ้าให้กลายเป็นสีน้ำตาลได้นะคะ หรือย้อมผ้าลูกไม้เพิ่มอารมณ์วินเทจก็ได้เช่นกันค่ะ ก่อนอื่นเลือกซื้อชากล่องใหญ่มาเลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องใช้ยี่ห้อดังค่ะ จากนั้นต้มน้ำเดือดๆ แล้วใช้ถุงชาลงไปเลย ใส่เยอะ สีก็จะเข้มขึ้น นำผ้าสะอาดใส่ลงไปเลย ถ้าผ้ามีรอยกะดำกะด่างจะยิ่งทำให้เห็นรอยเหล่านั้นได้ง่าย ควรซักให้สะอาดก่อนนะคะ ถ้าอยากทำผ้ามัดย้อมก็ใช้หนังยางมัดผ้าก่อนจุ่มลงในสีค่ะ กดผ้าให้จมลงไปในน้ำเพื่อให้สีติดทั่ว ทิ้งไว้ 15 นาทีหรือมากกว่านั้น หากสีดูเข้มมาก็อย่าตกใจไปนะคะ เพราะเมื่อเราล้างสีออกแล้วสีจะจางลงมากค่ะ การล้างสีควรใช้น้ำเย็นผสมน้ำส้มสายชูเล็กน้อยเพื่อยืดอายุสีให้ติดทนขึ้นค่ะ จากนั้นนำผ้าไปซักน้ำเปล่าแล้วตากตามปกติได้เลย
ที่มา : feelandflourish.blogspot.com
dyeing fabric with hibiscus / ย้อมผ้าด้วยชบาDried Hibiscus Flowers / ตากชบาให้แห้งmaterial and tools for dyeing fabric with Hibiscus / เตรียมผ้าสำหรับย้อม

ชบา

นำดอกชบาแสนสวยมาย้อมผ้ากันดีกว่าค่ะ เริ่มจากใช้ดอกชบาแห้งประมาณ 4 กำมือใส่ลงไปในน้ำค่ะ ซึ่งปริมาณน้ำก็ให้พอท่วมผ้าที่จะย้อมนะคะ จากนั้นทิ้งไว้กลางแดดสักพักจนสีเริ่มออก แล้วจึงนำผ้าที่ต้องการย้อมใส่ลงไปค่ะ กดผ้าให้จมน้ำให้พื้นที่ทุกส่วนได้โดนน้ำ สีจะได้ติดนะคะ ทิ้งไว้อย่างน้อย 1-3 วันค่ะ คนผ้าบ้างเป็นบางครั้ง ยิ่งทิ้งไว้นาน สีจะยิ่งซึมเข้าไปในผ้าได้มากขึ้นค่ะ จากนั้นนำไปซักในน้ำสะอาด ตากให้แห้ง แล้วเราก็จะได้ผ้าสีชมพูอ่อนสุดสวยแล้วค่ะ
ที่มา : www.remodelista.com
dyeing fabric with red cabbage / ย้อมผ้าด้วยกะหล่ำม่วงchopped red cabbage boiling / ต้มกะหล่ำม่วง

กะหล่ำม่วงสีสด

ผักที่เห็นในจานสลัดบ่อยๆ ก็นำมาย้อมสีได้นะคะ ใช้กะหล่ำทั้งหัว นำมาสับ สับ สับ สับให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้ ใส่น้ำผสมเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ต้มให้เดือดสัก 30 นาที กรองเอาแต่น้ำไว้ค่ะ เนื้อกะหล่ำม่วงก็ทิ้งไปเลยค่ะ จากนั้นก็นำน้ำกะหล่ำม่วงขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง ใส่ผ้าหรือไหมพรมซึ่งนำไปแช่น้ำร้อนมาแล้วลงไปในน้ำกะหล่ำม่วง ต้มให้เดือดต่อไปอีกเกือบ 1 ชั่วโมง ระหว่างนั้นก็หมั่นคนผ้าหรือไหมพรมด้วยนะคะ สีจะได้ติดทั่วถึง จากนั้นนำผ้ามาซักน้ำสะอาดแล้วตากให้แห้ง จะเห็นได้ว่าสีตอนต้มในน้ำกับสีสำเร็จจะต่างกัน สีจะจางลงไปพอสมควรเลยค่ะ อ๊ะๆ…อย่าเพิ่งทิ้งน้ำไปคะ เราจะทำอะไรสนุกๆ ต่อค่ะ
ที่มา : www.laylock.org/blog
dyeing fabric with red cabbage and baking powder / ย้อมผ้าด้วยกะหล่ำม่วงและผงฟู

กะหล่ำม่วงสีสด+ผงฟู

นำน้ำกะหล่ำม่วงที่เหลืออยู่มาเปลี่ยนสีกันเถอะค่ะ ต้มน้ำกะหล่ำม่วงต่อและใส่ผงฟูลงไป น้ำกะหล่ำม่วงจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียว จะเขียวอมม่วงหรือเขียวเข้มแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับผงฟูที่ใส่ลงไป ถ้ายังเป็นสีเขียวไม่ถูกใจก็ให้ใส่ผงฟูเพิ่มลงไปอีก อาจเริ่มจากใส่ 2-3 ช้อนโต๊ะแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณค่ะ เมื่อได้สีเขียวเฉดถูกใจแล้วก็ใส่ผ้าหรือไหมพรมซึ่งแช่น้ำร้อนมาแล้วลงไปเลยค่ะ ค่อยคนไปเรื่อยๆ ใช้เวลาต้มต่อไปอีก 1 ชั่วโมง จากนั้นนำผ้าหรือไหมพรมไปซักในน้ำสะอาดและตากให้แห้ง จะได้ออกมาเป็นสีเขียวเอิร์ธโทนสวยๆ แบบในรูป ลงมือทีเดียว ได้ตั้ง 2 สี คุ้มจริงๆ ค่ะ
ที่มา : www.laylock.org/blog
dyeing fabric with grape / ย้อมผ้าด้วยองุ่นsmashed grape / องุ่นดำ

องุ่นดำ

ใช้ผลองุ่นดำธรรมดาที่ซื้อมาจากตลาดเลย หรือจะเป็นองุ่นดำที่ไม่มีใครกินจนเริ่มไม่สดแล้วก็ยังใช้ได้ดีอยู่นะคะ นำองุ่นดำมาบดให้มีน้ำออกมาเยอะๆ แล้วต้มให้เดือด กรอกเอาแต่น้ำไว้นะคะ นำผ้าที่ต้องการย้อมสีใส่ลงไปในน้ำองุ่นดำ คนให้น้ำซึมเข้าไปในผ้าให้ทั่วเลย เมื่อผ้าติดสีม่วงทั้งผืนอย่างที่ต้องการแล้ว ก็นำมาล้างน้ำแล้วตากให้แห้งสนิท เท่านี้ก็เสร็จแล้วค่ะ จะใช้องุ่นแดงแทนองุ่นดำก็ได้เช่นกัน แต่สีที่ได้อาจจะซีดกว่ามากค่ะ
ที่มา : www.hungryghostfoodandtravel.com
dyeing fabric with flowers / ย้อมผ้าด้วยดอกไม้ต่างๆ flowers and fabric in the jar / เอาผ้าห่อดอกไม้และแช่น้ำไว้

ดอกไม้หลายชนิด

ดอกไม้อะไรบ้างก็ไม่รู้ จะได้สีอะไรก็ไม่แน่ใจ แต่ก็น่าสนุกอยู่ไม่น้อยนะคะ เพราะต้องลุ้นว่าจะได้สีอะไร เริ่มแรกเลยคือเก็บดอกไม้หลากหลายๆ ชนิดค่ะ ไม่ต้องกังวลนะคะว่าจะมีสีหรือไม่มี หรือว่าจะได้สีอะไร อย่าคิดมากเลยค่ะ จากนั้นนำดอกไม้เหล่านั้นมากห่อด้วยผ่าที่ต้องการจะย้อม โดยเราต้องแช่ผ้าผืนนี้ในน้ำอุ่นให้นิ่มเสียก่อนนะคะ เมื่อห่อดอกไม้เสร็จแล้วก็ใช้เชือกมัดห่อนะคะ เทน้ำใสขวดโหลหรือภาชนะอะไรก็ได้ นำผ้าห่อดอกไม้ใส่ลงไป เปิดฝาไว้นะคะ จากนั้นนำไปตากแดดอย่างน้อย 2 วันค่ะ พอโดดแดดแล้วน้ำจะเปลี่ยนสี ซึ่งสีอาจจะดูไม่สวย ดูเขียวๆ น้ำตาลหม่นๆ พอครบ 2 วันก็สามารถนำผ้าออกมาได้ค่ะ แกะเอาดอกไม้ทิ้งไป นำผ้าไปซักน้ำสะอาด ตากให้แห้ง สีที่ได้อาจจะสร้างความประหลาดใจให้คุณได้มากทีเดียวนะคะ เพราะสีที่ได้จากการผสมดอกไม้หลากหลายครั้งนี้ได้ออกมาเป็นสีชมพูค่ะ สวยไหมคะ
ที่มา : http://www.blisby.com/blog/natural-dye-fabric/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น